ประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผล

ครั้งที่ 3/2564

วันที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

วาระก่อนการประชุม

: :

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่ รายละเอียด เอกสารประกอบ
1พิธีมอบมุ้ง จำนวน 900 หลัง โดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข สาขาจังหวัดอุบลราชธานี
พิธีมอบมุ้ง จำนวน 900 หลัง โดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข สาขาจังหวัดอุบลราชธานี มอบแก่สาธารณสุขอำเภอหรือผู้แทน เพื่อนำไปมอบต่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์และกลุ่มเปราะบางในพื้นที่

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
2พิธีมอบเกียรติบัตรและช่อดอกไม้แสดงความยินดี
พิธีมอบเกียรติบัตรและช่อดอกไม้แสดงความยินดี รางวัล อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด ระดับเขตสุขภาพ และ อสม.ดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2564

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
3พิธีรับมอบเครื่องส่องหลอดลม(Laryngoscopes)

โรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
4มอบเกียรติบัตรทีมผู้ก่อการดี(Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ ประเภทชมเชย(ระดับทอง)ระดับประเทศ ประจำปี 2563
รางวัลทีมผู้ก่อการดี(Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ ประเภทชมเชย(ระดับทอง)ระดับประเทศ จำนวน 1 รางวัล คือ รพ.สต.หนองครก-ตายอย อำเภอน้ำยืน


ระเบียบวาระที่ 1

: : ประธานแจ้งให้ทราบ

ระเบียบวาระที่ 2

: : รับรองรายงานการประชุม

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่ รายละเอียด เอกสารประกอบ
1รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2564

เอกสารประกอบ
pdf

ระเบียบวาระที่ 3

: : เรื่องติดตามจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่ รายละเอียด เอกสารประกอบ
1การดำเนินงานงบค่าเสื่อม ปี 2563-2564
การดำเนินงานงบค่าเสื่อม
1. การบริหารแผนและผลการเบิกจ่ายงบค่าเสื่อม ปี 2563
2. การบริหารแผนงบค่าเสื่อม ปี 2564
เอกสารประกอบ
pdf

อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
2สถานการณ์การเงินการคลัง เดือน กุมภาพันธ์ 2564
สถาการร์การเงินการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
มีโรงพยาบาลที่ Risk Score 3 จำนวน 1 แห่ง
Risk Score 2 จำนวน 1 แห่ง
Risk Score 1 จำนวน 3 แห่ง
Risk Score 0 จำนวน 21 แห่ง
เอกสารประกอบ
pdf

ระเบียบวาระที่ 4

: : เรื่องจากศูนย์วิชาการ

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่ รายละเอียด เอกสารประกอบ
1สรุปข้อมูล Refer in อุบัติการณ์ ระดับ E-1 ปี 2563-2564 (กพ.64)

เอกสารประกอบ
pdf

ระเบียบวาระที่ 5

: : เรื่องจากกลุ่มงานต่างๆในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

บริหาร

ลำดับที่ รายละเอียด เอกสารประกอบ
1การส่งงบทดลองระบบ GL
1.1 ติดตามการส่งงบทดลองประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หน่วยงานที่ยังไม่ส่ง / ส่งงบทดลอง ไม่ครบ / งบไม่สัมพันธ์ ()
โซน 1 - แม่ข่าย ส่งครบ
-สสอ. ส่งครบ
โซน 2 -แม่ข่าย ส่งครบ
-สสอ. ส่งครบ
โซน 3 -แม่ข่าย ส่งครบ
-สสอ. ส่งครบ
โซน 4 -แม่ข่าย ส่งครบ
-สสอ. ส่งครบ
1.2 แจ้งผลคะแนนของแม่ข่าย (รพช.) และลูกข่าย (รพ.สต.)
-รพช. แม่ข่ายคะแนนเต็ม
-รพ.สต. ลูกข่าย คะแนนเต็ม
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้เครือข่ายอำเภอ กำชับผู้เกี่ยวข้องให้มีการสอบทานข้อมูลบัญชี ให้เป็นไปตามคุณภาพ/ผังรายการบัญชี ก่อนส่งงบประจำเดือน และควบคุม กำกับ ระบบการบันทึกบัญชี ให้มีการกำกับ ติดตามข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ทั้งก่อนและหลังการบันทึกบัญชี
2. ให้มีการ Audit ผลการส่งด้วยว่า ส่งผ่านหรือไม่ ตรวจสอบผลคะแนนเป็นอย่างไร แม่ข่ายส่งภายในวันที่ 8 และถ้าคะแนนไม่ผ่าน และมีการปรับปรุงแก้ไข ให้แก้ไขและส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนที่ส่ง ส่วนลูกข่าย ให้ส่ง และ ถ้าคะแนนไม่ผ่านในรายการใด จะได้ปรับปรุงแก้ไข ภายในวันที่ 20 ของเดือนที่ส่งนั้น

เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
2การส่งงบทดลอง ระบบGFMIS ()
สรุปการนำส่ง บช.11 จังหวัดอุบลราชธานี รพท. / รพช. จัดทำและส่ง งบทดลองประจำ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่งครบทุกแห่ง
ข้อเสนอแนะ
ขอให้กำกับ ติดตาม การส่ง บช.11 ประจำเดือน มีนาคม 2564 ภายในวันที่ 8 เมษายน 2564 เพื่องานการเงินฯ สสจ. จะได้ตรวจสอบและนำเข้าระบบ GFMIS ภายในวันที่ 9 เมษายน 2564

เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
3การเฝ้าระวังการเงินการคลัง
แจ้งผลการเฝ้าระวังการเงินการคลังของโรงพยาบาลตามเกณฑ์ FAI 7ระดับ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 มีผลการประเมินดังนี้ ()
เดือน มกราคม 2564 โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 4 คือ 50 พรรษาฯ โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 2 คือ วารินชำราบ โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 1 คือ ม่วงสามสิบ สว่างวีระวงศ์
เดือน กุมภาพันธ์ 2564 โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 3 คือ 50 พรรษาฯ โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 2 คือ วารินชำราบ โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงระดับ 1 คือ ม่วงสามสิบ ตาลสุม ตระการพืชผล

เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
4รายงานสถานะลูกหนี้เงินยืมคงเหลือ (เบิกจ่ายจาก สนง.สสจ.อบ.)
ขอแจ้งสถานการณ์ เกี่ยวกับลูกหนี้เงินยืมราชการ (ที่เบิกจ่ายจาก สนง.สสจ.อบ) เพียงวันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่เกินกำหนดชดใช้เงินยืม จำนวนทั้งสิ้น 452,280.-บาท (สองแสนห้าหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน) 10 ฉบับ
เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
5เงินยืมราชการจากหน่วยงานย่อย (รพท/รพช)
เงินยืมราชการจากหน่วยงานย่อย..(รพท/รพช.)..ณ 25 มีนาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,794,810.- บาท..(สี่ล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นสี่พันแปดร้อยสิบบาทถ้วน) 150 ฉบับ แยกเป็นลูกหนี้เงินยืมเกินกำหนดระยะเวลาส่งใช้ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,009,352 บาท (สองล้านเก้าพันสามร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน) 66 ฉบับ ซึ่งผู้ยืมปฏิบัติงานสังกัดตามหน่วยงานต่างๆ ขอให้ท่านได้ กำกับ ติดตาม เร่งรัดให้ผู้ยืมส่งหลักฐานชดใช้เงินยืมโดยด่วน
เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
6รายงานสถานะการเงินของโรงพยาบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
แจ้งสถานการณ์ การเงินการคลัง ของเครือข่าย ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เปรียบเทียบกับ 31 มกราคม 2564 เกี่ยวกับ เงินบำรุงคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า เงินบำรุงคงเหลือ(หักหนี้) ค่าใช้จ่ายจำเป็น เพื่อเป็นข้อมูลให้เครือข่ายมีการประเมินการเงินการคลังตนเองในการกำกับ ติดตามการบริหารการเงินการคลัง
จากข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า กลุ่มโรงพยาบาลที่มีเงินบำรุงคงเหลือ (หักหนี้) เป็นลบ มากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
โซน 1 50 พรรษาฯ 42.72 ล้านบาท
โซน 3 วารินชำราบ -31.37 ล้านบาท
โซน 2 ตระการพืชผล -18.52 ล้านบาท
โรงพยาบาลที่มีเงินบำรุงคงเหลือ(หักหนี้) เป็นบวก คือ นาจะหลวย เขื่องใน น้ำขุ่น บุณฑริก สิรินธร นาตาล โรงพยาบาลที่มีเจ้าหนี้การค้า มากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ
โซน 3 วารินชำราบ 132.94 ล้านบาท
โซน 4 เดชอุดม 112.16 ล้านบาท
โซน 1 ๕๐ พรรษาฯ 104.90 ล้านบาท
โซน 2 ตระการพืชผล 79.50 ล้านบาท
ข้อเสนอแนะ
ขอให้โรงพยาบาลมีการเฝ้าระวังระวังการเงินการคลัง มีการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งด้านรายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อหาสาเหตุว่ายังมีรายการใดที่ไม่เป็นไปตามแผนบ้าง ให้มีการควบคุม กำกับอย่างเข้มงวด

เอกสารประกอบ
pdf

บริหาร

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
7รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณงบดำเนินงาน Non Uc ณ 23 มีนาคม 2564
7.1 จัดสรรงบดำเนินงาน (Non Uc) ปี 2564 ให้ สสอ.ละ 140,000 บาท ข้อมูลผลการใช้จ่าย
- ผลการใช้จ่ายทั้งสิ้น 2,444,409.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 69.84
ตามเป้าหมายการเบิกจ่าย ไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 57 หน่วยงานที่เบิกจ่ายยังไม่ได้ตามไตรมาส 2 คือ ตระการพืชผล ศรีเมืองใหม่
ข้อเสนอแนะ ขอให้ทุกหน่วยที่ยังไม่เบิก ขอให้เร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 2 (เป้าหมายการเบิกจ่าย ร้อยละ 54)
7.2 ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณภาพรวมของหน่วยเบิก สสจ.อบ.
-ภาพรวม ไตรมาส 2 ร้อยละ 54 ผลร้อยละ 76.83 ผ่าน
-รายจ่ายประจำ ไตรมาส 2 ร้อยละ 57 ผลร้อยละ 78.07 ผ่าน
-รายจ่ายงบลงทุน ไตรมาส 2 ร้อยละ 45 ผลร้อยละ 76.13 ผ่าน
7.3 จัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนกำลังคน (ฉ.11)
-เบิกจ่ายทั้งสิ้น 25,282,305.-บาท
-โรงพยาบาลที่จัดสรรให้ลูกข่ายไตรมาสที่ 3 ได้แก่ เหล่าเสือโก้ก
-โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้จัดสรรไม่ครบในไตรมาส 2 ได้แก่ 50 พรรษาฯ เขื่องใน สว่างวีระวงศ์ และศรีเมืองใหม่
-ให้โรงพยาบาลเร่งการเบิกจ่ายตามระยะเวลาต่อไป


เอกสารประกอบ
xls

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
8สรุปข้อมูลการเบิกจ่ายงบ Non UC (สนง.สสอ.) ข้อมูล ณ 22 มีนาคม 2564

เอกสารประกอบ
pdf

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
9การนำเข้าข้อมูลกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีน COVID ณ 25 มีนาคม 2564 เวลา 08.40
ขอให้ทุกหน่วยบริการ ตรวจสอบข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและนำเข้าในระบบ Co-Vaccine
เอกสารประกอบ
xlsx

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
10แนวทางการประเมินการดำเนินงานสาธารณสุข รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564
จะดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 โดยเก็บข้อมูลจากระบบตามหลักเกณฑ์การประเมินผลที่แจ้งให้ทราบแล้ว

ยุทธศาสตร์สาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
11โครงการครัวเรือนพ้นจน คนอุบลไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
โครงการ "ครัวเรือนพ้นจน คนอุบลไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ปี 2564 เป็นนโยบายที่นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี จัดทำโครงการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และเป็นการต่อยอดโครงการฯ จากปี 2563 ที่ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครัวเรือนให้ดีขึ้นอย่างทั่วถึง โดยจัดทำโครงการ “ครัวเรือนพ้นจน คนอุบลไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เมื่อปี 2563 และนำครัวเรือนตกเกณฑ์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2562 ด้านรายได้ ของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 95 ครัวเรือน เป็นกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเป็นการขยายผลโครงการฯ ปี 2564 จึงได้ใช้ข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ในทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา / มิติด้านรายได้ / มิติด้านความเป็นอยู่ / มิติด้านสุขภาพ / มิติด้านการเข้าถึงบริการรัฐ เพื่อชี้เป้าครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการฯ และให้คณะทำงานระดับอำเภอดำเนินการตรวจสอบและจำแนกสถานะครัวเรือนจัดทำแบบสรุปข้อมูลครัวเรือน (Family Folder) รายครัวเรือน และการปักหมุดระบุ ตำแหน่งครัวเรือนคนจนเป้าหมาย ตรวจสอบคนจนเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนแท้จริง โดยในเบื้องต้นได้มีการรายงานและรับรองข้อมูลกลุ่มเป้าหมายฯ จากอำเภอแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 738 ครัวเรือน

ซึ่งจากการประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.จ.) เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ ไปสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน ได้แก่ 1)กำกับ/ดูแล ครัวเรือนตกเกณฑ์มิติด้านการศึกษา 2)วางแผนในการจัดหาเจ้าภาพรับผิดชอบครัวเรือนยากจนเป้าหมาย กับคณะทำงานมิติ 3)จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่รับผิดชอบ 4)จัดทำแผนการให้ช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่รับผิดชอบ 5)การลงพื้นที่ให้ช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่รับผิดชอบ อย่างน้อยครัวเรือน ละ 1 ครั้ง/เดือน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สนับสนุนการฝึกอาชีพ ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน มอบสิ่งของอุปโภค/บริโภคที่จำเป็น ด้านการสาธารณสุข ด้านความมั่นคงในชีวิตและที่อยู่อาศัย และในรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ ต่อครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่รับผิดชอบ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2564 (Kick off) เป็นต้นไป 6)รายงานผลการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่รับผิดชอบ ต่อผู้บังคับบัญชา เมื่อลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ รายงานประจำเดือนทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน และรายงานภาพรวมการให้ความช่วยเหลือภายในวันที่ 20 กันยายน 2564

ดังนั้น จึงขอให้ทุกอำเภอที่มีครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มิติด้านสุขภาพ จำนวน 13 อำเภอ ดำเนินการออกติดตาม ตรวจเยี่ยม และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ โดยบูรณาการกับการพัฒนาในมิติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รายงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบทุกวันที่ 10
เอกสารประกอบ
xlsx

ควบคุมโรคติดต่อ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
121. สถานการณ์โรค COVID-19
แนวทางการดำเนินงาน COVID-19
เอกสารประกอบ
pdf

ควบคุมโรคติดต่อ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
132. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
แนวทางการดำเนินงานโรคไข้เลือดออก
เอกสารประกอบ
pdf

ควบคุมโรคติดต่อ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
143.ผลการดำเนินงานวัณโรค
ผลการดำเนินงานวัณโรค
เอกสารประกอบ
pdf

คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
15การบันทึกผลการดำเนินงานบริหารเวชภัณฑ์ และ RDU ใน web ศุนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข
ขอให้ทุกรพ. เตรียมข้อมูล เพื่อบันทึกผลการดำเนินงานบริหารเวชภัณฑ์ ไตรมาส 2 ( ภายในเดือน เมษายน) และ RDU ภายในวันที่ 10 เมษายน 2564 ใน web ศุนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข

คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
16การนิเทศ RDU ครั้งที่ 1/ 2564
นิเทศ RDU ผ่าน web ex ขอให้คณะทำงาน/คระกรรมการ /ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ารับการนิเทศ
ครั้งที่ 2 วันที่ 1 เมษายน นิเทศโซน 1
ครั้งที่ 3 วันที่ 8 เมษายน นิเทศโซน 3 และ 4

ประกันสุขภาพ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
17ข้อมูลผู้ป่วยใน ปีงบประมาณ 2564
ข้อมูลจำนวน admission ,SumAdjRW,จำนวนเงินชดเชย และ CMI ปีงบประมาณ 2564
ข้อมูลการเคลม IMC (ธค 63 - กพ 64) และ Palliative care(ตค 63 - กพ 64)
เอกสารประกอบ
pdf

ประกันสุขภาพ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
18โอนเงิน virtual account ปี 2564 งวด 2
รายละเอียดการโอนเงิน virtual account ให้หน่วยบริการกรณีบริการผู้ป่วยนอก งวดที่ 2 ดังนี้
1.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 14,902,963.73 บาท
2.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 5,056,020.37 บาท
3.รพ.มะเร็ง จำนวน 2,568,979.63 บาท
4.รพ.วารินชำราบ จำนวน 1,057,128.12 บาท
5.รพร.เดชอุดม จำนวน 1,484,250.14 บาท
6.รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 105,658.00 บาท
รวมทั้งสิ้น 25,175,000 บาท

ประกันสุขภาพ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
19แนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามฯ
แนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามฯ ตามมติ ครม. วันที่ 29 ธันวาคม 2563 , มติ ครม. 26 มกราคม 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ พ.ศ.2564
เอกสารประกอบ
pdf

ประกันสุขภาพ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
20ผลงานตามนโยบายการจัดเก็บรายได้ ปี 64
ผลงานการจัดเก็บรายได้ ปี 2564
1.กองทุนผู้ป่วยใน
2. แพทย์แผนไทย
3.Fee schedule(ANC)
4.กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
เอกสารประกอบ
pdf

ประกันสุขภาพ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
21แจ้งเรื่องการประชุม เครือข่ายงานทะเบียนฯ UC
แจ้งเรื่องการประชุม เครือข่ายงานทะเบียน
-จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4 รุ่น ระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน 2564 (รุ่นละ 1 วัน)
รุ่นที่ 1 : วันที่ 2 เมษายน 2564 โซนพื้นที่ 1 ( เมือง, เขื่องใน, ม่วงสามสิบ, เหล่าเสือโก้ก, ตาลสุม, ดอนมดแดง ) ณ ห้องประชุมจิตตสปา 1 โรงแรมบ้านสวนคุณตา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
รุ่นที่ 2 : วันที่ 5 เมษายน 2564 โซนพื้นที่ 4 ( เดชอุดม, ทุ่งศรีอุดม, น้ำขุ่น, น้ำยืน, นาจะหลวย, บุณฑริก ) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง (ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร 5) รพ.สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
รุ่นที่ 3 : วันที่ 7 เมษายน 2564 โซนพื้นที่ 3 ( วารินชำราบ, สำโรง, นาเยีย, สว่างวีระวงศ์, พิบูลมังสาหาร, สิรินธร, โขงเจียม ) ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุขอำเภอโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
รุ่นที่ 4 : วันที่ 8 เมษายน 2564 โซนพื้นที่ 2 ( ตระการพืชผล, กุดข้าวปุ้น, เขมราฐ, นาตาล, โพธิ์ไทร, ศรีเมืองใหม่ ) ณ ห้องประชุมโรงแรมแลโขง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย สสจ./สสอ. 1 ท่าน/ รพ. 1-2ท่าน /รพ.สต.1 ท่าน
(*)หมายเหตุ หากไม่สะดวกในรุ่นที่กำหนด ท่านสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมในแต่ละรุ่นไม่ได้fixตายตัวคะ
(*) ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ เว็บไซต์ สปสช.เขต 10 อุบล ด้วยคะ เพื่อการบริหารจัดการ คอนเฟิร์มโรงแรม เอกสารที่จะต้องจัดเตรียม ไม่รับเพิ่มหน้างานคะ
(*)ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

https://ubon.nhso.go.th/seminar

พัฒนาคุณภาพรูปแบบบริการ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
22งานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
การรายงานผลการดำเนินงาน PMQA รอบ 6 เดือน ผ่านทางเวบไซด์ https://opdc.moph.go.th
หัวข้อระบบ e-Report ปีงบประมาณ 2564
โดยขอความร่วมมือให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง ดำเนินการดังนี้
1. รายงานความก้าวหน้าตามแผนพัฒนาองค์การของหมวด 1 - 6 (แบบฟอร์ม 3 ) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 2 เมษายน 2564
2. ลงผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดหัวข้อ 7.1 - 7.6 (ตามแบบฟอร์ม 4) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 2 เมษายน 2564

พัฒนาคุณภาพรูปแบบบริการ

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
23งานประจำปีและงานกาชาด จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2564
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนเยี่ยมชมการออกร้านนิทรรศการสาธารณสุขอุบลราชธานี ในงานประจำปีและงานกาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2564
ในระหว่างวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ถึงวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ณ บริเวณลานขวัญเมือง
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ได้แก่ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10, ศูนย์อนามัยที่ 10, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์,
โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิรลงกรณ และกลุ่มงานใน สสจ.อุบลราชธานี
ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมออกร้านนิทรรศการ อาทิ เช่น การให้คำปรึกษาสุขภาพจิต, การคัดกรองทันตกรรม และการตรวจสมรรถภาพทางกาย
รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายวาระ

เอกสารประกอบ
pdf

ทันตสาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
24งานทันตสาธารณสุข
ผลการดำเนินงาน Fee schedule งานทันตสาธารณสุข ปี 2564
- ข้อมูลได้รับการจ่ายชดเชยการให้บริการทันตกรรมป้องกัน (PP Fee Schedule) ปี 2563-2564 (รายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบ)
เอกสารประกอบ
pdf

ทันตสาธารณสุข

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
25งาน พอ.สว.
แผนปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. จังหวัดอุบลราชธานี บูรณาการร่วมกับหน่วยบริการจังหวัดเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2564 ประจำเดือน เมษายน 2564 จำนวน 1 ครั้ง ดังนี้
-วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2564 บ้านตูม ตำบลบ้านตูม อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

พัฒนาทรัพยากรบุคคล

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
26พิจารณาเงินไม่ทำเวชฯ
มีผู้ขอรับ 2 ราย ขอยกเลิก 1 ราย
เอกสารประกอบ
pdf

อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
27สถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5
รายงานสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 และการเฝ้าระวังด้านการแพทย์และสาธารณสุข
แหล่งข้อมูล
http://air4thai.pcd.go.th/
สถานี 83t อุบลราชธานี โดยกรมควบคุมมลพิษ
https://www.cmuccdc.org/
เครื่อง Dustboy 10 สถานีในจังหวัดอุบลราชธานี
เอกสารประกอบ
pdf

อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
28การรณรงค์ Kick Off Street Food Good Health ป้องกัน COVID-19
สำสนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 10 คปสอ.วารินชำราบ เทศบาลตำบลแสนสุข และตลาดเจริญศรี ร่วมกันจัดกิจกรรม รณรงค์ Kick Off Street Food Good Health ป้องกัน COVID-19 โดย ท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นประธาน ในวันที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 17.00 น. ณ ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ มิกิจกรรมการตรวจตลาด มอบนโยบาย ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการ
ขอเรียนเชิญท่านผู้บริหารในโซน 3 เข้าร่วมกิจกรรม และร่วมต้อนรับผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10

โรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
29แจ้งกิจกรรม TO BE NUMBER ONE จังหวัดอุบลราชธานี เดือนมีนาคม 2564
จังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมประกวดการนำเสนอผลงานจังหวัด อำเภอและชมรม TO BE NUMBER ONE ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2564 ในระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น จำนวน 9 ประเภท 11 ชมรม ดังนี้


1. ประเภทจังหวัด TO BE NUMBER ONE รักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเพชร ปีที่ 2
2. ประเภท TO BE NUMBER ONE จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเขื่องใน ประเภทดีเด่น
- อำเภอม่วงสามสิบ ประเภทดีเด่น
- อำเภอวารินชำราบ ประเภทดีเด่น
3.ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา)จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนปทุมพิทยาคม รักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเพชร ปีที่ 1
- โรงเรียนเขมราฐพิทยาคม ประเภทดีเด่น
4. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา ระดับอาชีวศึกษา-อุดมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี รักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับทอง ปีที่ 1
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประเภทดีเด่น
5. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อุบลเซอร์วิส 1997 ประเภทดีเด่น
6. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนภูมิภาค จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- ชุมชนบ้านสงยาง ตำบลเหล่าบก อำเภอเมืองม่วงสามสิบ ประเภทดีเด่น
- ชุมชนบ้านหนองแปน ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ประเภทดีเด่น
7. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
- สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดอุบลราชธานีประเภทดีเด่น
- ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต ๕ ประเภทดีเด่น
8. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในเรือนจำ/ทันฑสถาน จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางอุบลราชธานีประเภทดีเด่น
9. ประเภทชมรม TO BE NUMBER ONE ในกรมคุมประพฤติ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุบลราชธานี รักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเงิน ปีที่ 2

โรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด

ลำดับที่รายละเอียดเอกสารประกอบ
30ดำเนินการรณรงค์ ค้นหาเด็กเสี่ยงออทิสติก เนืองในวัน ออทิสติก โลก
องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันออทิสติกโลก ประกอบกับ ผลงานการเข้าถึงบริการของโรคออทิซึมในเด็กกลุ่ม 2-5 ปี จังหวัดอุบลราชธานี พบว่ายังมีจำนวนต่ำกว่าเป้าหมายจำนวนมาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี จึงขอความร่วมมือจากทุกอำเภอ ดำเนินการสำรวจค้นหาเด็กเสี่ยงออทิสติกในพื้นที่ โดย อสม.ค้นหา พบผิดปกติ ส่งต่อ จนท.รพ.สต.เพื่อส่งรักษาที่ รพช.ต่อไป
ระยะเวลาดำเนินการรณรงค์ ค้นหาเด็กเสี่ยงออทิสติกในเขตความรับผิดชอบ ในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2564 - 2 เมษายน 2564 พร้อมรวบรวมรายงานผลการรณรงค์ฯ ส่งมายังกลุ่มงาน NCD ภายในวันที่ 7 เมษายน 2564 เพื่อวางแผนนำเด็กกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจวินิจฉัยต่อไป


เอกสารประกอบ
pdf

ระเบียบวาระที่ 6

: : เรื่องจากโรงพยาบาล/สาธารณสุขอำเภอ

ระเบียบวาระที่ 7

: : เรื่องอื่นๆ